top of page

 

คุณค่าของการละเล่น

                     คุณค่าของการละเล่นของเด็กไทย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         อันได้จากการออกกำลังทั้งกลางแจ้งและในร่ม เริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ เล่น “จับปูดำ ขยำปูนา” หรือ “โยกเยกเอย น้ำท่วมเมฆ” เด็กก็จะได้หัดใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในตัวพร้อมกับทำท่าให้เข้ากับจังหวะ พอโตขึ้นมาหน่อยก็จะชอบเล่นกลางแจ้งกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มเล็กบ้างใหญ่บ้าง เช่น ขี่ม้าก้านกล้วย ตาเขย่ง ตีลูกล้อ วิ่งเปี้ยว ขี่ม้าส่งเมือง ตี่จับ เตย ฯลฯ การละเล่นบางอย่างมีบทร้องประกอบทำให้สนุกครึกครื้นเข้าไปอีก อย่าง รีรีข้าวสาร โพงพาง มอญซ่อนผ้า อ้ายเข้อ้ายโขง งูกินหาง นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้วยังได้ฝึกความว่องไว ฝึกความสัมพันธ์ของการเก็งจังหวะแขนเท้า เช่น กาฟักไข่ ได้ฝึกการใช้ทักษะ ทางตาและมือในการเล็งกะระยะ เช่น การเล่นลูกหิน ทอยกอง

 

- ฝึกความสังเกต ไหวพริบ และการใช้เชาวน์ปัญญา จากการละเล่นหลายชนิดที่ต้องชิ่งไหวชิงพริบกันระหว่างการต่อสู้ เช่น การเล่นกาฟักไข่ ผู้ขโมยจะหลอกล่อชิงไหวชิงพริบกับเจ้าของไข่ ซึ่งต้องคอยระวัง คาดคะเนไม่ให้ใครมาขโมยไข่ไปได้ หรือการเล่นแนดบกของทางเหนือ ผู้เล่นจะรู้สึกสนุกกับ การล่อหลอกแนดให้มาแตะ แล้วตัวเองต้องไวพอที่จะวิ่งเข้าวงก่อน การเล่นเตยหรือ ต่อล่อง คนล่องก็จะหลอกล่อให้ผู้กั้นเผลอ เพื่อให้ฝ่ายตนไปได้และผู้กั้นก็ต้องคอยสังเกตให้ดีว่า ใครจะเป็นคนผ่านไป

 

- ฝึกวินัยและการเคารพต่อกติกา การละเล่นทุกอย่างมีกฏในตัวของมันเอง ซึ่งก็มาจากพวกเด็กนั่นเองเป็นคนช่วยกันกำหนดตกลงกันขึ้นมา การเล่นจึงดำเนินไปได้ โดยจะเห็นได้จากก่อนเล่นก็จะมีการจับไม้สั้นไม้ยาว เป่ายิงฉุบ จุ่มจะหลี้ (ของทางเหนือ คล้าย ๆ จ่อจีเจี๊ยบ) หรือ ฉู่ฉี้ (เป่ายิงฉุบของทางภาคใต้ มีปืน น้ำ ก้อนอิฐ แก้ว (น้ำ) หากใครไม่ทำตามกติกาก็จะเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อน ๆ ไม่ได้ เป็นการฝึกการปรับตัวเข้ากับคนอื่นโดยปริยาย

 

- ฝึกความอดทน เช่น ขี่ม้าส่งเมือง ผู้แพ้จะต้องถูกขี่หลังไปไหน ๆ ก็ได้ บางคนตัวเล็กถูกคนตัวใหญ่ขี่ก็ต้องยอม ถ้าไม่ทนก็เล่นกันไม่ได้ หรือเสือข้ามห้วย คนเป็น “ห้วย” ต้องอดทนทำท่าหลายอย่างให้ผู้เป็น “เสือ” ข้าม บางครั้งต้องเป็น “ห้วย” อยู่นาน เพราะไม่มีเสือตัวใดตาย หรือหา “เสือ” ข้ามได้หมด “ห้วย” ก็ถูกลงโทษ ถูก “เสือ” หามไปทิ้งแล้ววิ่งหนี “ห้วย”

 

- ฝึกความสามัคคีในคณะ อย่างเช่น ตี่จับในขณะที่ผู้เล่นของฝ่ายหนึ่งเข้าไป “ตี่” เพื่อให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วจะได้วิ่งกลับฝ่ายของตน โดยไม่ถูกจับเป็นเชลยนั้น ผู้เล่นอีกฝ่ายต้องพร้อมใจกันพยายามจับผู้เข้ามา “ตี่” ไว้อย่าให้หลุดมือ เพราะถ้าหลุดกลับไปฝ่ายของตน ผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องกลับไป เป็นเชลยทั้งกลุ่ม หรืออย่างชักคะเย่อ ผู้เล่นของแต่ละฝ่ายต้องพร้อมใจกันออกแรงกันสุดฤทธิ์สุดเดช เพื่อให้เครื่องหมายที่กึ่งกลางของเชือกเข้าไปอยู่ฝ่ายตน

 

- ฝึกความซื่อสัตย์ ผู้เล่นเป็นคนหาต้องผิดตาให้มิดในขณะที่คนอื่น ๆ วิ่งไปซ่อน อย่างคำร้องประกอบการเล่นชนิดนี้ว่า “ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียว” หรือหมากเก็บอีตัก ถ้ามือของผู้เล่นไปแตะถูกก้อนหินหรือเม็ดผลไม้ก็ต้องยอม “ตาย” ให้คนอื่นเล่นต่อ แม้ว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม

 

- ฝึกความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามกติกาไม่ว่าจะเป็นการเล่นอะไร ถือว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบของผู้เล่น เช่น เล่นหมุนนาฬิกา ผู้เล่นทุกคนต้องจับมือกันให้แน่นแล้วหงายตัว เอาเท้ายันกัน คนยืนสลับต้องจับมือคนหนึ่งให้แน่น ๆ แล้ววิ่งรอบ ๆ เป็นวงกลมเหมือนนาฬิกา ทุกคนจึงต้องรับผิดชอบจับมือหรือยันเท้าให้มั่น จึงจะหมุนได้สนุก

© 2023 by Odam Lviran. Proudly created with Wix.com.

  • facebook-square
  • Flickr Black Square
  • Twitter Square
  • Pinterest Black Square
bottom of page